top of page

เรียน SAT MATH ให้ได้ 800 เต็มง่ายๆ แค่เปลี่ยนสไตล์การทดเลข!



เรียน SAT

ทดก็เร็ว คิดก็ไว ทำไมคะแนน SAT MATH ไม่ถึง 800 !?

.

.

.

ก็จริงอยู่ที่หลายคนคงคิดว่า แค่เรื่อง "ทดเลข" มันจะไปสำคัญอะไร จะทดยังไงก็ช่าง ขอแค่ได้คำตอบที่ถูกต้องมาก็พอ

.

.

.

ปล่อยให้การทดเลข เป็นไปตามความเคยชิน หารู้ไม่ ว่านี่คือหนึ่งในสัญญาณอันตรายที่สุด!! ที่จะทำให้น้องพลาดโอกาส SAT MATH 800 เต็ม!!

.

.

.

ทำไม การทดเลขถึงสำคัญขนาดนั้น? เพราะมันจะช่วยเรื่อง ความถูกต้อง กับ การประหยัดเวลาไปได้อีกเย้อออเยอะ

.

.

.

เชื่อสิ ถ้าน้องๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องการ "ทดเลข" อีกซักนิด คะแนนก็จะใกล้ชิด 800 ขึ้นมาอีกหน่อยแล้ว!

.

.

ทั้งนี้ทั้งนั้น การทดเลขที่ถูกต้องจะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่รู้ขั้นตอนของการทำโจทย์ SAT MATH

 

1. ทดให้เป็นระบบ คิดให้เป็นระเบียบ

จากประสบการณ์ สอนมาเยอะ เห็นมาหลายคน ประเภททดตรงนั้นที ตรงนี้ที มุมซ้ายบนกระดาษบ้าง มุมขวาล่างบ้าง ทดตรงไหนก็ได้ที่ว่าง ขอแค่ได้ทดพอ

.

.

ทดไม่เป็นที่ คิดไม่ออก!? จะทำไงต่อ!? หาอะไรต่อดี!? เอ๊ะเดี๋ยวโจทย์ถามว่าอะไรนะ!? อ้าวคิดผิด! เมื่อกี้ทดไว้ตรงไหนนะ!? หาไม่เจอละ คิดใหม่เลยละกัน!!!!

.

.

ใครเป็นแบบนี้ยกมือขึ้นน?? สุดท้าย สิ่งที่คิดว่าทดเร็ว กลายเป็นช้ากว่าเดิม !

.

.

จะแก้ยังไงดี? ง่ายๆเลย หาพื้นที่ว่างที่เพียงพอ เริ่มจากการคิดให้เป็นระบบมากขึ้น โจทย์พูดถึงใคร ให้ information อะไรมาบ้าง เขียนเรียงออกมา แล้วทดให้เป็นระเบียบ จะใช้สูตรอะไร เพื่อมาหาอะไร และจะนำไปหาอะไรต่อ เขียนเรียงเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ต้นจบจบ ทำแบบนี้ น้องจะเห็นภาพ ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่หลุด focus และเมื่อมีข้อผิดพลาด จะกลับไปหาจุดผิดของตัวเองได้ตั้งแต่ บรรทัดแรกเลย! และประหยัดเวลา ที่จะมาเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น!

 

2.ละเอียดเกิน ลัดขั้นตอน

สายงานละเอียด ทดดี ลายมือสวย เป็นระเบียบ ครบทุกขั้นตอน มาทางนี้! โดยเฉพาะน้องๆผู้หญิงทั้งหลาย ที่เขียนทุกอย่างละเอียดยิบ เหมือนกำลังนั่งทำโจทย์ชิวๆ สบายๆ อยู่บ้าน

.

.

.

ถามว่าดีมั้ย ที่คิดละเอียด เขียนครบทุกขั้นตอน? ดี!!! แต่ช้ามั้ย!?!? ช้ามากกกก

.

.

.

แน่นอนว่า ในห้องสอบเราไม่ได้มีเวลานานขนาดนั้น อะไรที่ลัดขั้นตอนได้ ต้องลัดออกไป ฝึกใหม่! แก้สมการทำ 2-3 ขั้นตอนให้ได้ภายในบรรทัดเดียว ไม่ต้องเขียนครบทุกขั้นตอน ฝึกทดให้เร็ว แต่ยังคงความเป็นระเบียบ เข้าใจง่ายอยู่!

.

.

 

3.ทดบนกระดาษ ไม่ใช่ทดบนอากาศ!

อันนี้เรียกสายมโน เพราะนั่งมโนอยู่ในใจ เห็นโจทย์เลขแล้วมองพื้น มองเพดาน ไม่เน้นทดเลข เน้นใช้ sense และ ตรรกะ ของตัวเอง ได้สมการขึ้นมาในหัว ก็แก้มันอยู่ในหัว ไม่เอาออกมาซักที ประหนึ่งว่า เราจะไม่จับดินสอ จนกว่า คำตอบจะปิ๊งขึ้นมาในหัว

.

.

ผิดมั้ย? ก็ไม่ผิดหรอกตราบใดที่น้องได้คำตอบที่ถูกต้องออกมา แต่โอกาสที่น้องจะถูกทุกอย่าง 100% บอกเลยว่ายาก! เพราะน้องต้องมั่นใจมากว่าสมองเราจัดการกับตัวเลขทุกตัวที่อยู่บนหัวได้ โดยไม่ขาดตกอะไรไป และต้องถูกต้องตามหลัก math จริงๆ ไม่ใช่แค่ใช้ sense

.

.

ที่หนักกว่า คือ บางคน "กลัวผิด" กลัวว่าสิ่งที่เขียนออกมาจะผิด เลยลองคิดในหัวดูก่อนละกัน!

.

.

.

เปลี่ยนยังไง? ก็แค่เอามันออกมาจากหัว และเขียนมันลงไปบนกระดาษแค่นั้นแหละ! เลิกมโน เลิกใช้ sense ใช้หลักของ math เอา theory มา support วิธีการแก้สมการของเราจริงๆ เพราะคำตอบที่ได้มันจะถูกต้องโดยไม่มีข้อสงสัย ถูกคือถูก ผิดคือผิด! และไม่ต้องกลัวผิด กล้าที่จะคิด กล้าที่จะเขียน ถ้าทำผิดก็แค่ลบแล้วคิดใหม่!

 

4. อ่านลายมือตัวเองไม่ออก!

ไม่ใช่เรื่องตลก เพราะเจอเคสนี้มาเยอะมากกกกก อ่าน s เป็นเลข 5 อ่านเลข 1 เป็นเลข 7!

.

.

ก็ไม่รู้จะบอกให้แก้ยังไง นอกจากว่า ให้ตั้งสติ เขียนให้สวยขึ้น และชัดเจนขึ้นแค่นั้นเอง เข้าใจว่ารีบคิด รีบเขียน แต่รีบแล้วคะแนนพัง ก็ไม่ช่วยอะไรนะคะ

 

Trick เพิ่มเติม Double Check ลดความสัพเพร่า

เวลามันน้อย ใช้สอยอย่างประหยัด รีบคิดให้เสร็จ รีบกาคำตอบ อ้าวเฮ้ย! ไม่มีคำตอบ ทำไง!? กลับมานั่งเช็คใหม่ตั้งแต่ต้น บรรทัดไหนคิดผิดน้าา?

.

.

2 นาทีผ่านไปก็ยังหาไม่เจอว่าผิดตรงไหน อะ เริ่มใหม่เลยละกัน!

.

.

ช้าาาา!!!!

จะมานั่งรอให้ตัวเอง ตอบผิด แล้วค่อยมาเช็คทีหลังทำไม?

ทำไป check ไป เร็วกว่าเยอะะะะ!!

ไม่ว่าจะเขียนอะไรอยู่ จะแก้สมการอะไรอยู่ก็ตาม เช็คบรรทัดก่อนหน้า แล้วค่อยขึ้นบรรทัดถัดไปปป แบบนี้คำตอบจะไม่ผิดพลาด และประหยัดเวลามานั่งเช็คคำตอบทีหลังอีกด้วย!

 

เชื่อสิ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ต้องมีหลายคนแหละ ที่รู้ตัวว่าเป็นหนึ่งในเคสเหล่านี้ ยอมรับมาซะดีๆ ถ้าใครรู้ตัวแล้ว ก็ลองกลับไปปรับแก้ซะ เผลอๆสอบครั้งหน้า จะได้ 800 เต็มไม่รู้ตัวจ้าา

.

.

หรือถ้าใครที่รู้ตัวว่าคิดช้า และคิดไม่รอบคอบ คิดเลขผิดบ่อยๆ วิธีแก้ที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดคือ....

.

.

ฝึกใช้เครื่องคิดเลขให้คล่องที่สุด!!!

Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
  • Line
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
bottom of page